ทอร์เบราเซอร์ (Tor Browser) สำหรับลีนุกซ์ - ท่องออนไลน์แบบไม่เปิดเผยชื่อพร้อมกับเลี่ยงการถูกเซนเซอร์
Updated 10 August 2016
สารบัญ
...Loading Table of Contents...ทอร์เบราเซอร์ สามารถทำให้การท่องโลกออนไลน์ของคุณมีความเป็นส่วนตัวเนื่องจากการเก็บซ่อนไอเดนติตี้ของคุณและป้องกันคุณจากการสอดส่องบันทึกรายการเข้าชมเว็บของคุณและการสอดส่องรูปแบบอื่นหลายหลากรูปแบบ ทอร์ ยังสามารถใช้เพื่อเลี่ยงการตั้งค่าของโปรแกรมกรองเนื้อหาบนอินเตอร์เนทได้อีกด้วย
สิ่งที่ควรอ่าน
สิ่งที่คุณจะได้จากคู่มือนี้
- ความสามารถในการซ่อนไอเดนติตี้ทางดิจิตอลของคุณจากเว็บไซต์ที่คุณเข้าเยี่ยมชม
- ความสามารถในการซ่อนการเยี่ยมชมเว็บไซต์จากผู้ให้บริการอินเตอร์เนทและ การติดตามของโปรแกรมสอดส่อง
- ความสามารถในการเลี่ยงการถูกเซนเซอร์และกฎเกณฑ์การกรองเนื้อหา
- วิธีป้องกันตัวจากเว็บที่ไม่ปลอดภัยและอาจเป็นอันตรายผ่านการใช้ตัวเสริม เอชทีทีพี เอวรีแวร์ (HTTPS Everywhere) และ โนสคริปต์ (NoScript)
1. บทนำของทอร์
ทอร์เบราเซอร์ (Tor Browser) คือโปรแกรมอีกเวอร์ชั่นนึงของมอซิลล่าไฟร์ฟอกซ์ที่ทันสมัย ที่เน้นการปกป้องความเป็นส่วนตัว ทอร์เป็นซอฟแวร์ฟรีที่เป็นโอเพ่นซอร์สที่สนับสนุนการใช้งานแบบไม่เปิดเผยชื่อ (anonymity) ในโลกออนไลน์และสามารถใช้เลี่ยนการถูกเซนเซอร์ได้ ทอร์เบราเซอร์ต่างกับเบราเซอร์อื่นในลักษณะดังต่อไปนี้:
- สนับสนุนการใช้งานแบบไม่เปิดเผยชื่อในโลกออนไลน์โดยการซ่อน IP address ของผู้ใช้
- สามารถเลี่ยงการถูกเซ็นเซอร์ออนไลน์ได้และทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ที่โดนบล็อคได้
- ไม่ตั้งค่าการแทรกกิ้งเป็นแบบอัตโนมัติ
- ไม่หารายได้จากการเก็บข้อมูลของผู้ใช้
- ได้รับการสนับสนุนและแนะนำโดย ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยที่มีชื่อเสียงระดับโลก
1.0. สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับทอร์เบราเซอร์ก่อนเริ่มใช้งาน
ทอร์เบราเซอร์ นั้นทำงานบน เครือข่ายของทอร์ ซึ่งใช้ซอฟแวร์ที่ชื่อว่า Free and Open Source Software (FLOSS) ซึ่งได้ถูกออกแบบเพื่อให้สามารถใช้งาน แบบไม่เปิดเผยชื่อในโลกออนไลน์ และ เลี่ยงการถูกเซนเซอร์ได้
เครือข่ายของทอร์ ประกอบไปด้วยเซิฟเวอร์นับพันที่ดำเนินการโดยอาสาสมัครทั่วโลก ทุกครั้งที่ทอร์เบราเซอร์สร้างการเชื่อมต่อใหม่มันจะเลือกตัวกลางสามแหล่งซึ่งเป็นตัวกลางสำหรับถ่ายทอดของทอร์ (Tor relay) และเชื่อมโยงอินเตอร์เนทผ่านตัวกลางเหล่านั้น ทอร์ทำการเข้ารหัสทุกขาของการส่งสัญญานจนกระทั่งตัวถ่ายทอดเหล่านั้นไม่สามารถรู้ข้อมูลของการเดินทางทั้งเส้นที่มันได้ช่วยทำการรับส่งข้อมูล
เมื่อคุณใช้ทอร์เบราเซอร์ การจราจรทางอินเตอร์เนทของคุณจะแสดงออกมาว่ามาจากคนละIP address ซึ่งส่วนมากจะดูเหมือนมาจากหลายประเทศ ผลที่ได้ก็คือ ทอร์เบราเซอร์จะซ่อน IP address ของคุณกับเว็บไซต์ที่คุณเข้าไปในขณะนี้ซ่อนรายชื่อของเว็บไซต์ที่คุณเข้าไปเยี่ยมจากบุคคลที่สามที่อาจต้องการคอยสังเกตุการณ์การจราจรออนไลน์ของคุณด้วย นอกจากนั้นทอร์ยังให้ความมั่นใจได้ว่าจะไม่มีตัวกลางสำหรับการถ่ายทอดของทอร์ตัวไหนที่สามารถล่วงรู้ตำแหน่ง ทั้งสอง คือตำแหน่งของคุณจากในอินเตอร์เนท และ เว็บไซต์ที่คุณเยี่ยมชม (ถึงแม้ว่าในบางกรณีเว็บไซต์แต่ละอันอาจจะรู้ข้อมูลเหล่านี้ได้ระหว่างกันเอง)
นอกจากนั้นทอร์ยังเข้ารหัสการสื่อสารที่เข้ามาและภายในเครือข่ายอีกด้วย อย่างไรก็ดีการป้องกันเหล่านี้จะไม่รวมไปถึงเว็บไซต์ที่สามารถเข้าถึงได้โดยช่องทางที่ไม่เข้ารหัส (นั่นคือเว็บที่ไม่สนับสนุนการใช้งานแบบ HTTPS)
เพราะว่าทอร์เบราเซอร์สามารถซ่อนการสื่อสารระหว่างคุณและเว็บไซต์ที่คุณเข้าเยี่ยมชมได้ มันจึงสามารถให้คุณท่องเว็บได้โดยไม่เปิดเผยชื่อและเลี่ยงการถูกติดตามในโลกออนไลน์ได้ ทอร์นั้นมีประโยชน์สำหรับการเลี่ยงตัวกรองเนื้อหาออนไลน์ (internet filter) และทำให้คุณจะสามารถเข้าถึงเนื้อหาของ (หรือที่ผลิตเนื้อหาให้)เว็บไซต์เหล่านั้นที่ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถเข้าถึงได้
รูปภาพข้างล่างแสดงถึงวิธีการทำงานของเครือข่ายทอร์ เมื่อคอมพิวเตอร์ของอลิสใช้งานทอร์เบราเซอร์เพื่อสื่อสารกับเซิฟเวอร์ของบ๊อบ:
ขั้นที่ 1 ทอร์เบราเซอร์ของอลิสได้รายชื่อของโหนด (nodes) หรือตัวถ่ายทอด (relays) ของทอร์ [1] จากไดเร็คทอรี่ของเซิฟเวอร์ทอร์ (Dave)
ขั้นที่ 2 ทอร์เบราเซอร์ของอลิสเลือกทางแบบสุ่มผ่านเครือข่ายของทอร์ไปถึงเซิฟเวอร์ปลายทาง (Bob) การเชื่อมต่อภายในของเครือข่ายทอร์นั้นได้ถูกเข้ารหัส (สีเขียว [3]) ในตัวอย่างนี้ การเชื่อมต่อสุดท้ายนั้นไม่ได้ถูกเข้ารหัส (สีแดง [2]) ซึ่งการเชื่อมต่อสุดท้ายนั้น จะถูก เข้ารหัสหากอลิสเข้าไปที่เว็บไซต์ที่ใช้ https
ขั้นที่ 3 หากในภายหลัง อลิสได้เข้าไปที่เซิฟเวอร์อีกอัน (Jane) ทอร์เบราเซอร์ของอลิสจะเลือกเส้นทางสุ่มเส้นทางใหม่
หมายเหตุ: ความเป็นจริงแล้วการท่องเว็บแบบไม่เปิดเผยชื่อจะมีข้อได้เสียเรื่องความเร็ว ทอร์ทำให้คุณท่องเว็บแบบไม่เปิดเผยชื่อได้โดยการทำให้การจราจรของออนไลน์ของคุณเด้งไปมาระหว่างเซิฟเวอร์ของอาสาสมัครทั่วโลก ดังนั้นทอร์มักจะช้ากว่าการเชื่อมต่อโดยตรงบนอินเตอร์เนท
1.1. โปรแกรมอื่นที่ใกล้เคียงกับทอร์เบราเซอร์
ไมโครซอฟ วินโดว์ส, แมค OS, GNU ลีนุกซ์, แอนดรอยด์ และ โปรแกรมอื่นที่สนับสนุนการใช้งานของ iOS:
ทอร์เบราเซอร์ นั้นสนับสนุนระบบปฏิบัติการ GNU ลีนุกซ์, แมค OS, ไมโครซอฟ วินโดว์ส และ แอนดรอยด์ ทอร์ ได้ถูกทดสอบหลายครั้งเพื่อให้คุณได้สามารถทำกิจกรรมออนไลน์ได้โดย มีความเป็นส่วนและไม่ต้องเปิดเผยชื่อ ข้างล่างนี้คือเครื่องมืออีกหลายอัน ที่ใช้สำหรับการเลี่ยงการถูกเซ็นเซอร์และช่วยปกป้องการจราจรในโลกออนไลน์ของคุณให้เป็นความลับ ซึ่งต่างจาก ทอร์ คุณจำเป็นที่จะต้องเชื่อมั่นในผู้ให้บริการของคุณหากต้องการใช้เครื่องมือเหล่านี้
- RiseupVPN เป็นโปรแกรม Virtual Private Network (VPN) ที่ฟรีและเป็น proxy server ของ ลีนุกซ์, แมค OS, แอนดรอยด์ และไมโครซอฟ วินโดว์ส
- Psiphon เป็น Virtual Private Network (VPN) ในเชิงพาณิชย์ที่ฟรี และสามารถใช้ได้กับ ไมโครซอฟ วินโดว์ส และแอนดรอยด์
- Lantern เป็นเครื่องมือที่ฟรีและเป็นโอเพ่นซอร์สสำหรับ ลีนุกซ์, แมค OS X และ วินโดว์ส
2. ดาวน์โหลดและรับรองทอร์เบราเซอร์
หมายเหตุ: หากคุณอยู่ในพื้นที่ที่การเข้าสู่หน้าเว็บไซต์ของทอร์ โปรเจค (Tor Project) โดนบล้อค คุณสามารถอีเมลเพื่อขอดาวน์โหลดลิ้งค์ได้ โดยคุณสามารถส่งอีเมลไปได้ที่ gettor@torproject.org และระบุว่าเวอร์ชั่นที่คุณต้องการ (วินโดว์ส, แมคosx หรือลีนุกซ์) ในข้อความด้วย คุณจะได้รับคำตอบที่มีลิ่งสู่ทอร์เบราเซอร์ผ่าน ดร็อบบ๊อกซ์ (Dropbox), กูเกิล ด็อกส์ (Google Docs) หรือ จิตหับ (Github) รายละเอียดเกี่ยวกับทางเลือกนี้มีให้ดูเพิ่มเติมได้ที่ Tor Project website
ก่อนที่คุณจะดาวน์โหลดแพคเกจทอร์เบราเซอร์สำหรับลีนุกซ์ คุณต้องตรวจเช็คก่อนว่าระบบที่คุณใช้นั้นคือ 32-bit หรือ 64-bit และตรวจสอบแน่ใจก่อนที่คุณจะแยกไฟล์ออกมา
2.1. ดาวน์โหลดทอร์เบราเซอร์
ขั้นที่ 1. เปิดแอพพลิเคชั่น Terminal
ขั้นที่ 2. รันคำสั่งข้างล่างใน Terminal:
uname –m
หากคุณใช้ระบบ 32-bit Terminal จะแสดง i686
i386
แต่หากคุณใช้ระบบ 64-bit หน้าจอจะแสดง x86_64
เมื่อคุณรู้แล้วว่าคุณใช้ระบบ 32-bit หรือ 64-bit คุณจึงสามารถเลือกดาวน์โหลดแพคเกจทอร์เบราเซอร์ที่เหมาะสมได้
ขั้นที่ 3. ตรวจดูอีกทีว่าคุณอยู่ที่เว็บไซต์นี้เพื่อดาวน์โหลด https://www.torproject.org (“https” นั้นเป็นการยืนยันว่าการเชื่อมต่อระหว่างเบราเซอร์ของคุณและเว็บไซต์นั้นถูกเข้ารหัส ซึ่งทำให้ผู้ที่ไม่ประสงค์ดีจะแก้ไขไฟล์ที่คุณกำลังจะดาวน์โหลดได้ยากขึ้น)
รูปที่ 1: ดาวน์โหลดลิ้งค์ของทอร์เบราเซอร์สำหรับระบบลีนุกซ์
ขั้นที่ 4. คลิ้ก ที่ลิ้งค์ที่เหมาะสมและดาวน์โหลดและจัดเก็บไฟล์แพคเกจไว้ที่ๆคุณสะดวก (เช่น บน Desktop หรือแฟ้ม Documents หรือบน USB แฟลชไดร์ฟ)
ขั้นที่ 5. คลิ้กขวา ที่ลิ้งค์ (sig) ข้างล่างดาวน์โหลดลิ้งที่คุณเพิ่งคลิ้กที่ขั้นตอนที่แล้ว และจัดเก็บไฟล์นั้นในไดเร็คทอรี่เดียวกัน
คุณต้องใช้ไฟล์ .asc จาก ขั้นที่ 5 ข้างบนนี้เพื่อใช้ ยืนยัน ว่าแพคเกจทอร์เบราเซอร์ที่คุณเพิ่งดาวน์โหลดใน ขั้นที่ 4 นั้นเป็นของแท้ โดยทำตามขั้นตอนข้างล่างนี้
2.2 การยืนยันแพคเกจทอร์เบราเซอร์ (ขั้นสูง)
ก่อนที่คุณจะแยกไฟล์แพคเกจของทอร์ คุณควรยืนยันก่อนว่าไฟล์นั้นเป็นไฟล์ของแท้ (เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ ลายเซ็นแบบเข้ารหัส (cryptographic signatures) ได้ที่ บทเกี่ยวกับ GnuPG ในคู่มือธันเดอร์เบิร์ด และที่ คู่มือสำหรับการยืนยันลายเซ็นของทอร์เบราเซอร์)
GnuPG นั้นมักจะถูกติดตั้งมาแล้วกับหลายระบบของลีนุกซ์ คุณจึงสามารถดำเนินการยืนยันทอร์เบราเซอร์แบบพื้นฐานโดยใช้ Open PGP signature ได้โดยไม่ต้องติดตั้งซอฟแวร์เพิ่มเติมโดยทำตามขั้นตอนข้างล่างนี้:
ขั้นที่ 1. นำเข้ากุญแจสำหรับรับรอง Tor Project's (0x4E2C6E8793298290) โดยการเปิด Terminal และรันคำสั่งต่อไปนี้:
gpg --keyserver x-hkp://pool.sks-keyservers.net --recv-keys 0x4E2C6E8793298290
ผลที่ได้คือ Terminal ควรจะแสดงค่าข้างล่างนี้:
รูปที่ 1: Terminal หลังจากที่นำเข้ากุญแจ GPG แล้ว
ขั้นที่ 2. คุณสามารถเรียกดูข้อมูลเกี่ยวกับกุญแจนี้ได้โดยการรันคำสั่งต่อไปนี้ใน Terminal:
gpg --fingerprint 0x4E2C6E8793298290
ผลที่ได้คือ Terminal ควรจะแสดงค่าข้างล่างนี้:
รูปที่ 2: Terminal ยืนยันว่าคุณได้นำเข้ากุญแจ GPG สำเร็จแล้ว
ขั้นที่ 3. ไปที่Terminal และใส่ไดเร็คทอรี่ที่คุณจัดเก็บหนึ่งในสองแพคเกจทอร์เบราเซอร์ข้างล่างไว้:
- tor-browser-linux64-5.0.4_en-US.tar.xz
- tor-browser-linux32-5.0.4_en-US.tar.xz
ไดเร็คทอรี่นี้ควรมีหนึ่งในสองลายเซ็นข้างล่างนี้:
- tor-browser-linux64-5.0.4_en-US.tar.xz.asc
- tor-browser-linux32-5.0.4_en-US.tar.xz.asc
สำคัญ: ไฟล์ในตัวอย่างข้างต้นและข้างล่างนี้คือเวอร์ชั่น 5.0.4 ของทอร์เบราเซอร์ แต่ไฟลืที่คุณใช้ควรมีตัวเลขเวอร์ชั่นที่สูงกว่านี้
ขั้นที่ 4. จากในไดเร็คทอรี่ ให้คุณรันคำสั่งข้างล่างใน Terminal (ขึ้นอยู่กับว่าคุณดาวน์โหลดทอร์เบราเซอร์เวอร์ชั่น 32-bit หรือ 64-bit)
gpg --verify ./tor-browser-linux32-5.0.4_en-US.tar.xz{.asc*,}
gpg --verify ./tor-browser-linux64-5.0.4_en-US.tar.xz{.asc*,}
ผลที่ได้คือ Terminal ควรจะแสดงค่าข้างล่างนี้:
รูปที่ 3: การยืนยันลายเซ็น
ขั้นตอนข้างต้นนั้นยืนยัน กุญแจส่วนตัว ที่สัมพันธ์กับ กุญแจสาธารณะ ที่คุณนำเข้ามาใน ขั้นที่ 1 นั้นถูกใช้ในการสร้างไฟล์ลายเซ็นที่คุณดาวน์โหลดมาใน ขั้นที่ 5 ของบทที่แล้ว (และไฟล์ลายเซ็นนั้นใช้ได้กับทอร์เบราเซอร์แพคเกจที่คุณดาวน์โหลดมาใน ขั้นที่ 4 ของบทที่แล้ว)
สำคัญ: อย่างที่คุณได้เห็น GPG จะแสดงคำเตือนเกี่ยวกับกุญแจที่ใช้สำหรับลายเซ็นนี้ ทั้งนี้เพราะว่าคุณยังไม่ได้ยืนยันกุญแจลายเซ็นของทอร์โปรเจค ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการยืนยันนั้นคือการได้เจอผู้พัฒนาทอร์โปรเจคด้วยตัวเองและขอลายนิ้วมือสำหรับยืนยันกุญแจจากพวกเขา แต่เพื่อจุดประสงค์ของคู่มือนี้ เราจะใช้กุญแจ GPG ของทอร์โปรเจคที่เป็นที่รู้จักดีแทน ซึ่งก็คือ (0x4E2C6E8793298290) ที่ได้ถูกใช้ในการสร้างไฟล์ลายเซ็นที่ สามารถยืนยันว่าแพคเกจทอร์เบราเซอร์ที่คุณดาวน์โหลดมานั้นเป็นของแท้ได้เช่นกัน
3. แยกไฟล์ทอร์เบราเซอร์จากแฟ้มอาไคว์ฟ (archive)
คุณไม่จำเป็นต้องติดตั้งทอร์เบราเซอร์เหมือนกับซอฟแวร์อื่นๆ คุณสามารถแยกมันไว้ — ที่ฮาร์ดไดร์ฟหรือที่ USB แฟลชไดร์ของคุณ — และเปิดใช้ได้จากตรงนั้น
ทำตามขั้นตอนข้างล่างเพื่อแยกไฟล์ทอร์เบราเซอร์:
ขั้นที่ 1. ไปที่ แฟ้มที่คุณจัดเก็บแพคเกจทอร์เบราเซอร์เอาไว้
ในบทนี้เราคาดว่าคุณได้จัดเก็บไฟล์ไว้บน Desktop
รูปที่ 1: แฟ้มที่เก็บแพคเกจทอร์เบราเซอร์เอาไว้
ขั้นที่ 2. คลิ้กสองครั้ง ที่ไฟล์tor-browser-linux64-5.0.4_en-US.tar.xz เพื่อเรียกดูเนื้อหาของไฟล์ archive
รูปที่ 2: ข้างในแฟ้มอาไคว์ฟของทอร์เบราเซอร์
ขั้นที่ 3. คลิ้ก ที่แฟ้ม tor-browser_en-US
ขั้นที่ 4. คลิ้ก [Extract] เพื่อเลือกตำแหน่งสำหรับแฟ้มโปรแกรมทอร์เบราเซอร์
รูปที่ 3: เลือกตำแหน่งสำหรับแฟ้มแอพพลิเคชั่นทอร์เบราเซอร์
ขั้นที่ 5. ไปที่ ตำแหน่งที่คุณต้องการแยกแฟ้มโปรแกรมทอร์เบราเซอร์
ขั้นที่ 6. คลิ้ก [Extract] เพื่อแยก แฟ้มโปรแกรมทอร์เบราเซอร์
รูปที่ 4: แยกไฟล์ทอร์เบราเซอร์
ขั้นที่ 7. เมื่อขั้นตอนการแยกไฟล์สำเร็จแล้ว ให้ คลิ้ก [Quit] เพื่อปิด Archive Manager
ตอนนี้คุณสามารถเปิดทอร์เบราเซอร์ได้แล้ว
4. เปิดและติดตั้งทอร์เบราเซอร์
ขั้นที่ 1. ไปที่ แฟ้ม tor-browser_en-US ที่ได้ถูกสร้างเมื่อคุณแยกแพคเกจทอร์เบราเซอร์
รูปที่ 1: แฟ้มโปรแกรมทอร์เบราเซอร์
ขั้นที่ 2. คลิ้กสองครั้ง ที่ไฟล์ Tor Browser Setup เพื่อเปิดทอร์เบราเซอร์เป็นครั้งแรก
รูปที่ 2: ภายในแฟ้มโปรแกรมทอร์เบราเซอร์ก่อนที่จะถูกเปิดครั้งแรก
หลังจากที่คุณเปิดทอร์เบราเซอร์เป็นครั้งแรก ชื่อของไฟล์จะถูกเปลี่ยนเป็น Tor Browser จากนั้นคุณสามารถเปิดโปรแกรมได้โดยการคลิ้กสองครั้งบนไฟล์นี้
รูปที่ 3: ภายในแฟ้มโปรแกรมทอร์เบราเซอร์หลังจากที่ถูกเปิดครั้งแรก
ครั้งแรกที่คุณเปิดทอร์เบราเซอร์ คุณจะถูกถามว่าจะให้โปรแกรมเชื่อมต่อกับอินเตอร์เนทอย่างไร:
เชื่อมต่อทางตรง(Direct Access): เลือกตัวเลือกนี้หากการการเข้าถึงอินเตอร์เนทของคุณไม่ถูกจำกัด และทอร์เบราเซอร์ไม่ถูกบล็อค ไม่ถูกแบน หรือไม่ถูกควบคุมในสถานที่ๆคุณอยู่
เชื่อมต่อแบบมีข้อจำกัด(Restricted Access): เลือกตัวเลือกนี้หากการการเข้าถึงอินเตอร์เนทของคุณถูกจำกัด และทอร์เบราเซอร์ถูกบล็อค แบน หรือถูกควบคุมในสถานที่ๆคุณอยู่
หลังจากที่คุณได้ตั้งค่าในการเปิดใช้งานทอร์เบราเซอร์แล้ว ทอร์จะจำค่าที่คุณตั้งไว้และจะไม่ถามให้คุณตั้งค่าอีก แต่คุณสามารถเปลี่ยนการตั้งค่าได้ทุกเวลาจากข้างในทอร์เบราเซอร์ ซึ่งคุณอาจจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนมันเวลาที่คุณท่องเที่ยว หรือเวลาที่สถานการณ์เปลี่ยนในประเทศที่คุณอยู่ โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บทที่ 4.3 ข้างล่างนี้
4.1. เชื่อมต่อกับเครือข่ายทอร์อย่างไร - เชื่อมต่อทางตรง (Direct Access)
หากการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เนท (และเครือข่ายทอร์) ไม่ถูกจำกัดในสถานที่ที่คุณอยู่ ให้คุณทำตามขั้นตอนข้างล่างนี้เพื่อตั้งค่าทอร์เบราเซอร์:
ขั้นที่ 1. คลิ้กสองครั้ง ที่ไฟล์ Tor Browser Setup หน้าจอการตั้งค่าทอร์เบราเซอร์จะถูกแสดงขึ้น
รูปที่ 1: หน้าจอการตั้งค่าทอร์เบราเซอร์
ขั้นที่ 2. เพื่อเชื่อมต่อโดยตรงกับเครื่อข่างทอร์ ให้ คลิ้ก [Connect]
รูปที่ 2: เชื่อมต่อกับเครือข่ายทอร์
อีกสักครู่หนึ่งหลังจากนี้ ทอร์เบราเซอร์จะเปิดขึ้น
รูปที่ 3: ทอร์เบราเซอร์
ตอนนี้คุณสามารถท่องเว็บโดยโดยถูกปกป้องจากเครือข่ายทอร์
4.2. เชื่อมต่อกับเครือข่ายทอร์อย่างไร - เชื่อมต่อแบบมีข้อจำกัด (Restricted Access)
หากคุณต้องการใช้ทอร์เบราเซอร์จากสถานที่ที่เครือข่ายทอร์ถูกบล็อค คุณจำเป็นต้องใช้ บริดจ์ รีเลย์ (bridge relay) บริดจ์ไม่ได้ถูกรวมไว้ในไดเร็คทอรี่สาธารณะของทอร์ ดังนั้นการบล็อคจึงทำได้ยากกว่า บริดจ์บางตัวสนับสนุนการใช้งานแบบ ปลิ้กเอบิล ทรานสปอร์ต (pluggable transports) ซึ่งสามารถซ่อนการจราจรออนไลน์ของคุณที่ไปสู่และมาจากเครือข่ายทอร์ การใช้งานนี้ช่วยป้องกันตัวกรองเนื้อหาออนไลน์ไม่ให้ระบุและบล็อคบริดจ์ ดีเลย์
การตั้งค่าอัตโนมัติของ pluggable transport มีชื่อเรียกว่า obfs4 ซึ่งทำให้ยากขึ้นสำหรับผู้อื่นที่จะรู้ได้ว่าคุณกำลังเชื่อมต่อกับเครือข่ายทอร์ โดยทั่วไปแล้วทอร์ไม่ได้ถูกดีไซน์มาเพื่อซ่อนว่าคุณกำลังใช้ทอร์อยู่
คุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับบริดจ์ได้ที่ เว็บไซต์ของทอร์ โปรเจค (Tor project website) การใช้บริดจ์มี 2 วิธีด้วยกัน คุณสามารถเปิดการใช้งาน บริดจ์ที่มีอยู่แล้ว (provided bridges) หรือคุณสามารถขอใช้ บริดจ์ที่ปรับได้ตามความต้องการ (custom bridges)ได้
4.2.1. เชื่อมต่อกับเครือข่ายทอร์ด้วยบริดจ์ (bridges) อย่างไร
คุรสามารถใช้บริดจ์ที่มีเพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายทอร์ตามขั้นตอนข้างล่างนี้:
ขั้นที่ 1. คลิ้กสองครั้ง ที่ไฟล์ Tor Browser Setup เพื่อแสดงหน้าจอเพื่อตั้งค่าของทอร์เบราเซอร์
รูปที่ 1: หน้าจอเพื่อตั้งค่าทอร์เบราเซอร์
ขั้นที่ 2. หากคุณเชื่อมต่อแบบมีข้อจำกัดให้ คลิ้ก [Configure]
หมายเหตุ: หากคุณได้ตั้งค่าทอร์เบราเซอร์แล้ว คุณสามารถให้หน้าจอข้าวล่างถูกแสดงขึ้นได้โดยการทำตามขั้นตอนใน บทที่ 4.3
รูปที่ 2: หน้าจอเพื่อตั้งค่าทอร์เบราเซอร์
ขั้นที่ 3. เลือก Yes
ขั้นที่ 4. คลิ้ก [Next] เพื่อแสดงหน้าจอ bridge configuration
รูปที่ 3: หน้าจอการตั้งค่าบริดจ์
ขั้นที่ 5. เลือก Connect with provided bridges
ขั้นที่ 6. คลิ้ก [Next] เพื่อแสดงหน้าจอ local proxy configuration
ทอร์เบราเซอร์จะถามว่าคุณต้องการใช้ local proxy เพื่อเชื่อมโยงกับอินเตอร์เนทหรือไม่ ขั้นตอนข้างล่างคาดไว้ว่าคุณไม่จำเป็นต้องใช้ แต่หากคุณ ใช้ คุณสามารถตรวจสอบจากการตั้งค่ามาตรฐานของเบราเซอร์ของคุณและลอกการตั้งค่าของพรอกซี่มาใช้ได้ (ในไฟร์ฟอกซ์ คุณสามารถไปที่การตั้งค่าดังกล่าวจาก Options > Advanced > Network ไปที่แท็บ Connection Settings ส่วนในเบราเซอร์อื่นคุณอาจเจอเมนูการตั้งค่าภายในส่วนของการตั้งค่า Internet Options คุณสามารถใช้หมวดขอความช่วยเหลือ หรือ Help ภายในเบราเซอร์ของคุณเพื่อรับการช่วยเหลือเพิ่มเติม
รูปที่ 4: หน้าจอการตั้งค่าพร็อกซี่ (proxy)
ขั้นที่ 7. เลือก No
ขั้นที่ 8. คลิ้ก [Connect] เพื่อเปิดทอร์เบราเซอร์
รูปที่ 5: เชื่อมต่อกับเครือข่ายทอร์
อีกสักครู่ทอร์เบราเซอร์จะถูกเปิดขึ้น
4.2.2. เชื่อมต่อกับเครือข่ายทอร์ด้วยบริดจ์ที่ปรับได้ตามความต้องการ (custom bridges) อย่างไร
คุณสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายทอร์ผ่าน บริดจ์ที่ปรับได้ตามความต้องการ (custom bridges) ซึ่งถูกใช้งานโดยคนน้อยคนเมื่อเปรียบเทียบกับ บริดจ์ที่มีอยู่แล้ว (provided bridges) ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะถูกบล็อคน้อยกว่า หากคุณไม่สามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ของทอร์ โปรเจคได้ คุณสามารถขอที่อยู่ของบริดจ์ที่ปรับได้ตามความต้องการ (custom bridge addresses) โดยการส่งอีเมลไปที่ bridges@torproject.org โดยใช้บัญชีอีเมลของ Riseup, Gmail หรือ Yahoo โดยให้เขียนว่า get bridges ไปในเนื้อความของอีเมลดังกล่าวด้วย
คุณ สามารถ เข้าไปที่เว็บไซต์ของทอร์ โปรเจคได้ และคุณสามารถปรับค่าที่อยู่ของบริดจ์ได้โดยไปที่ https://bridges.torproject.org/options และทำตามขั้นตอนข้างล่าง
ขั้นที่ 1. คลิ้ก Just give me bridges!
รูปที่ 1: การขอรับที่อยู่ทอร์บริดจ์
ขั้นที่ 2. กรอกข้อมูลแคพช่าแล้วคลิ้ก enter
รูปที่ 2: กรอกแคพช่า
หลังจากนี้ที่อยู่ของบริดจ์ 3 อันจะถูกแสดง:
รูปที่ 3: ที่อยู่ของทอร์บริดจ์
ขั้นที่ 3. เมื่อคุณมีที่อยู่ของบริดจ์แล้วคุณสามารถ type มันลงไปที่หน้าจอ Tor Bridge Configuration ตามที่แสดงให้เห็นข้างล่าง
หมายเหตุ: หากคุณเปิดทอร์เบราเซอร์ครั้งแรก คุณสามารถไปที่หน้าจอตั้งค่าบริดจ์ Tor Bridge Configuration ได้โดยทำตามขั้นตอนใน บทที่แล้ว หากคุณต้องการไปที่หน้าจอนี้หลังจากที่คุณได้ตั้งค่าทอร์เบราเซอร์แล้ว ให้ไปที่ บทต่อไป
รูปที่ 4: กรอกที่อยู่ของบริดจ์ในหน้าจอตั้งค่าบริดจ์
4.3. วิธีตั้งค่าเพื่อเข้าสู่เครือข่ายของทอร์
หากในบางเวลา ที่คุณต้องการเชื่อมต่อกับเครือข่ายทอร์ด้วยวิธีอื่น ยกตัวอย่างเช่น เวลาคุณเดินทางไปประเทศที่บล็อคทอร์ คุณสามารถอัพเดทการตั้งค่าได้จากภายในเบราเซอร์ตามขั้นตอนข้างล่างนี้:
ขั้นที่ 1: คลิ้ก ที่ปุ่ม เพื่อเปิดเมนูของทอร์เบราเซอร์
รูปที่ 1: เมนูการตั้งค่าทอร์เบราเซอร์
ขั้นที่ 2. เลือก Tor Network Settings เพื่อเปลี่ยนวิธีที่ทอร์เบราเซอร์เชื่อมต่อกับอินเตอร์เนท
รูปที่ 2: การตั้งค่าเครือข่ายทอร์
หน้าจอนี้จะสามารถให้คุณเปิดใช้หรือปิดใช้บริการบริดจ์และเพิ่ม บริดจ์ที่ปรับได้ตามความต้องการ นอกเหนือจากการตั้งค่าอื่นๆ
ขั้นที่ 3. เมื่อเสร็จแล้วให้ คลิ้ก [OK] และ รีสตาร์ท Tor Browser
5. ท่องเว็บแบบไม่เปิดเผยชื่อโดยใช้เบราเซอร์ทอร์
สิ่งที่คุณควรจำคือ ทอร์เบราเซอร์ นั้นสามารถไม่ชื่อในสิ่งที่คุณทำได้เฉพาะในหน้าต่างของทอร์เบราเซอร์เท่านั้น ซึ่งจะไม่มีผลต่อกิจกรรมออนไลน์อื่นๆของคุณที่ไม่ได้ทำบนทอร์
หมายเหตุ: รายละเอียดของนโยบาย ความเป็นส่วนตัวโดยการออกแบบ (privacy by design) ทอร์เบราเซอร์ ได้ถูกตั้งค่าไว้ให้ไม่จัดเก็บประวัติการท่องเว็บของคุณไว้ในฮาร์ดไดร์ฟ ดังนั้นทุกครั้งที่คุณเลิกใช้ ทอร์เบราเซอร์ ประวัติการท่องเว็บของคุณจะถูกลบทิ้ง
5.1. วิธีตรวจสอบว่าทอร์เบราเซอร์ทำงานหรือไม่
ทอร์เบราเซอร์ซ่อน IP address ของคุณ จากเว็บไซต์ที่คุณเข้าเยี่ยมชม และหากทอร์ทำงานอย่างสมบูรณ์การเข้าเว็บไซต์ของคุณจะดูเหมือนว่าถูกเข้าจากสถานที่บนอินเตอร์เนทที่
- ต่างจาก IP address ปกติของคุณ
- ไม่สามารถเชื่อมโยงกับสถานที่ที่ตัวคุณอยู่ได้
วิธีง่ายๆที่คุณสามารถจะยืนยันการใช้งานดังกล่าวคือการเข้าไปที่เว็บไซต์ ทอร์เช็ค (Tor Check) ที่ https://check.torproject.org/.
ซึ่งหากคุณ ไม่ใช้ ทอร์ หน้าจอจะแสดงผลดังนี้:
รูปที่ 1: ทอร์เช็คแสดงผลว่าทอร์ทำงานไม่สมบูรณ์
หากคุณใช้ทอร์ หน้าจะจอแสดงผลดังนี้:
รูปที่ 2: ทอร์เช็คแสดงผลว่าทอร์ทำงานสมบูรณ์
หากคุณต้องการเช็ค IP address ของคุณโดยใช้บริการที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทอร์ โปรเจค คุณสามารถเลือกใช้ได้หลายบริการ เช่น บริการที่สนับสนุนการเข้ารหัสแบบ https (ที่ทำให้คนอื่นนอกเหนือจากผู้ให้บริการเองยากที่จะ "ปลอมแปลง" ผลการทดสอบได้) ทั้งนี้รวมถึง:
หากคุณเข้าไปที่เว็บไซต์เหล่านี้โดย ไม่ได้ใช้ ทอร์เบราเซอร์ IP address จริงของคุณจะถูกแสดงออกมาซึ่งข้อมูลนี้จะเชื่อมโยงกับสถานที่ที่คุณอยู่จริง แต่หากคุณเข้าไปที่เว็บไซต์โดยผ่านทอร์เบราเซอร์ IP address อื่นจะถูกแสดงแทนที่ของจริง
5.2. สร้างไอเดนติตี้ (identity) ใหม่ได้อย่างไร
คุณสามารถสร้าง "ไอเดนติตี้ใหม่ (new identity)" สำหรับทอร์เบราเซอร์ของคุณ และเมื่อคุณทำเช่นนั้นทอร์เบราเซอร์จะเลือกตัวถ่ายทอดของทอร์ (Tor relays) ชุดใหม่แบบสุ่ม ซึ่งจะทำให้ดูเหมือนว่าคุณมาจาก IP address อื่นเมื่อคุณเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ โปรดทำตามขั้นตอนข้างล่าง หากคุณต้องการทำเช่นนี้:
ขั้นที่ 1. คลิ้ก ที่ปุ่ม เพื่อเปิดเมนูทอร์เบราเซอร์
รูปที่ 1: สร้างไอเดนติตี้ใหม่ในทอร์เบราเซอร์
ขั้นที่ 2. เลือก New Identity จากเมนู
ทอร์เบราเซอร์จะลบประวัติการท่องเว็บของคุณและไฟล์คุ้กกี้แล้วถึงจะรีสตาร์ท หลังจากมันได้ถูกรีสตาร์ทแล้ว คุณจะดูเหมือนว่ามาจาก IP address ใหม่ตามที่ได้อธิบายไว้ในบทที่แล้ว
5.3. การเปิดใช้ส่วนเสริมโนสคริปต์ (NoScript)
ทอร์เบราเซอร์จะมากับส่วนเสริม โนสคริปต์ ที่ถูกติดตั้งไว้แล้ว โนสคริปต์จะป้องกันคุณจากเว็บไซต์ที่เป็นอันตรายและช่วยเพิ่มการป้องกันการรั่วไหลของไอเดนติตี้จริงของคุณผ่านสคริปต์ที่ใช้สำหรับทอร์เบราเซอร์ อย่างไรก็ดีโนสคริปต์นั้นถูกปิดใช้งานโดยอัตโนมัติในทอร์เบราเซอร์ ซึ่งหมายความว่าการป้องกันดังกล่าวนั้นจะยังไม่ได้ใช้ได้ในทันที
ดังนั้นหากคุณต้องการที่จะเปิดใช้งานการป้องกันเพิ่มเติมโดยโนสคริปต์ การใช้งานส่วนนี้สามารถถูกเปิดใช้ได้โดยการเปิดที่เมนูของโนสคริปต์ และคลิ้กที่ Forbid Scripts Globally และตั้งค่าได้หลายแบบตามที่โปรแกรมได้กำหนดไว้ให้
ทำตามวิธีข้างล่างเพื่อเปิดการใช้งานของโนสคริปต์ในทอร์เบราเซอร์:
ขั้นที่ 1. คลิ้ก ที่ปุ่ม NoScript ที่อยู่ด้านซ้ายของ ปุ่ม
รูปที่ 1: เปิดใช้งานส่วนเสริมโนสคริปต์
ขั้นที่ 2. เลือก Forbid Scripts Globally (advised)
ความเป็นจริงแล้วการเลือกตัวเลือกนี้จะทำให้หลายเว็บไซต์ที่คุณเข้าไป "โหลดไม่ครบ" และหากเว็บไซต์ดังกล่าวไม่สามารถโหลดได้ครบถ้วน คุณสามารถเพิ่มชื่อของเว็บไซต์ดังกล่าวได้ในโนสคริปต์ ไวท์ลิส (NoScript whitelist) โดยการคลิ้กที่ปุ่มที่แสดงให้เห็นใน รูปที่ 1 ข้างต้นและเลือกอณุญาติแบบชั่วคราว (Temporarily allow) สำหรับทุกหน้าเว็บ คุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโนสคริปต์ได้ใน คู่มือเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆในไฟร์ฟอกซ์
5.4. การทำให้ทอร์เบราเซอร์ทันสมัยอยู่เสมอ
เมื่อส่วนอัพเดทของทอร์เบราเซอร์นั้นมีออกมา โปรแกรมจะเตือนว่าเบราเซอร์ของคุณนั้นล้าสมัยแล้ว คุณควรเช็คที่ส่วนอัพเดทของทอร์เบราเซอร์ และทำตามขั้นตอนข้างล่างนี้:
รูปที่ 1: คำเตือนว่าทอร์เบราเซอร์นั้น "ล้าสมัยแล้ว"
ตามที่แสดงใน รูปที่ 1 คุณสามารถอัพเดทเวอร์ชั่นของทอร์เบราเซอร์ได้ตามขั้นตอนข้างล่างนี้:
ขั้นที่ 1. คลิ้ก ที่ปุ่ม เพื่อเปิดเมนูทอร์เบราเซอร์
รูปที่ 2: ดาวน์โหลดอัพเดทของทอร์เบราเซอร์
ขั้นที่ 2. เลือก Download Tor Browser Update
คุณจะถูกนำไปที่เว็บไซต์ของทอร์โปรเจคที่ที่คุณสามารถได้ไฟล์อัพเดทล่าสุด และเมื่อคุณได้ดาวน์โหลดแพคเกจทอร์เบราเซอร์ตัวใหม่แล้ว คุณสามารถทำตามคำแนะนำในคู่มือนี้ข้างต้นเพื่อเริ่มติดตั้งอีกครั้ง
คำถามที่พบบ่อย
ถาม: ทำฉันถึงควรใช้ ทอร์เบราเซอร์?
ตอบ: ทอร์เบราเซอร์นั้นเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มาก หากคุณต้องการจะเลี่ยงการถูกเซ็นเซอร์บนอินเตอร์เนทในกรณีที่คุณอยากจะเข้าไปที่เว็บไซต์บางเว็บ ในขณะเดียวกันทอร์ก็มีประโยชน์ในกรณีที่คุณไม่ต้องการให้ผู้ให้บริการอินเตอร์เนท ล่วงรู้เว็บไซต์ที่คุณเข้าไปหรือในกรณีเดียวกันที่คุณไม่อยากให้เว็บไซต์ที่คุณเข้าไปเยี่ยมชมล่วงรู้ถึงสถานที่ของคุณบนอินเตอร์เนท
ถาม: ระหว่างที่ฉันใช้ทอร์เบราเซอร์ โปรแกรมอื่นๆของฉันจะสื่อสารอย่างไม่ชื่อผ่านเครือข่ายทอร์ด้วยหรือไม่?
A: ไม่ สิ่งสำคัญที่คุณควรจะจำไว้คือ ทอร์เบราเซอร์ จะส่งข้อมูลการจราจรออนไลน์ของคุณผ่านเครือข่ายทอร์โดยอัตโนมัติ โปรแกรมอื่นๆของคุณจะสื่อสารโดยตรงกับผู้ให้บริการบนอินเตอร์เนท คุณสามารถยืนยันว่าคุณสื่อสารผ่านเครือข่ายทอร์ได้โดยการโหลดหน้าเว็บ ทอร์ เช็ค (Tor Check) ที่ https://check.torproject.org ทอร์จะคาดว่าคุณได้ใช้งานอย่างระมัดระวัง อย่างมีสามัญสำนึก และมีการตัดสินใจที่ดีเมื่อเข้าไปในเว็บไซต์ใหม่และไม่คุ้นเคย
ถาม: การจราจรออนไลน์ของทอร์เบราเซอร์ นั้นถูกเข้ารหัสหรือไม่?
A: ทอร์จะเข้ารหัสการสื่อสารของคุณทั้งหมด ภายใน เครือข่ายทอร์เท่านั้น และคุณควรจะจำไว้ด้วยว่า ทอร์ไม่สามารถเข้ารหัสการจราจรออนไลน์ของคุณหลังจากที่คุณออกจากเครือข่ายทอร์แล้ว หากคุณต้องการป้องกันข้อมูลที่คุณส่งและรับระหว่าง exit node ของทอร์และเว็บไซตื์ที่คุณกำลังสื่อสารอยู่นั้นคุณยังจำเป็นต้องใช้ HTTPS อยู่